วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วันจันทร์ ที่ 5 กันยายน 2559





                                                                     บันทึกครั้ง ที่ 5

                                                     วันจันทร์  ที่ กันยายน  พ.ศ.2559





                  ความรู้ที่ได้รับ

                    
               บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ

               โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย

โครงการ แม่สอนลูก

               - ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ 

               - จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน 

               - ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ 

               - ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน โดยอาศัยรูปแบบโครงการ
                  การเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล 

               - มารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริม                                พัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น - เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรม                                ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก


                  การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดู
                  เด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย

                  เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิด
                  จากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำ
                  กว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูป
                  แบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ

                  - วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม

                  - วิธีการสนทนากลุ่ม

                  - วิธีอภิปรายกลุ่ม

                   - วิธีการบรรยาย

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย

                   ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่ง
                   พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้
                   ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
                   เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้
                   ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย 

                   - แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่ 

                   - คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 

                   - หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์ 

                   - ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์” 

                   - จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”

โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”

           ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด 
           ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด” เพื่อสร้างความเข้าใจ
           บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัย
           และห่างไกลจากยาเสพติด โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่อง
           ทางคือ 

            - ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์ 

           - ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์ 

           - สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น 

           - กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว 
             เช่น เกม กีฬา เป็นต้น 

โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)

              โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิ
              หนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปี
              แห่งการอ่าน ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่ง                         ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่า” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน 
              โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐาน                   การอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการ                 อ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กร                   ท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตาม                   ประเมินผลครอบครัวในโครงการ

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

              ดำเนินงานโดยกองสูตินารีเวชกรรม พร.พระมงกุฎเกล้า ได้เปิดบริการให้
              เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ
             ในเรื่องต่างๆของชีวิตสมรส เพื่อความสุขราบรื่น โดยใช้ชื่อสถานบริการนี้ว่า 
             “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส” ดำเนินงานโดย พ.อ. นพ.วิวัฒน์ ศุภดิษฐ์ มี                          วัตถุประสงค์ เพื่อต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย โดยจะให้
             การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรสระหว่างตั้งครรภ์ ทำคลอด และ
             หลังคลอดจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่ เป็นการ
             ดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน 
             กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน 
             วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว 
             เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต 
             มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก
             โดยมีกิจกรรมดังนี้ 

             - การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่
               พ่อแม่ผู้ปกครอง 

            - จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรม
               เลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น 

            - จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 
               ให้มีคามรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป

               โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ



โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล

              ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง 
              เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีการจัด
              การศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งาน
              การศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษา
              ของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชน
              จึงพบได้ในทุกโรงเรียน ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่


โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย
ที่เรียกว่า ALEH (Early Childhood Enrichment Center)

               ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้ 

            - สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนา
              เด็ก และถ้าเด็กมีปัญหาทางด้านพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาก็จะ
              เสนอแนะให้รู้จักกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อรับฟังคำแนะนำ 

            - จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก 
            - ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่
              ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมในศูนย์ ALEH เพื่อจัดกิจกรรมในข้อขั้นต้น 
โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี

              เรียกโครงการนี้ว่าเป็นการจัดการศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ก็ว่าได้ 
              โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม เป็นโครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่าง                               มหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโครงการที่จัดรูปแบบ
              การสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี ซึ่งกิจกรรมที่สอนพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ 
              ให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก ได้เรียนรู้พัฒนาการทั้งทางด้านสติ                       ปัญญา อารมณ์และสังคม สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่าง
              ง่ายๆ รู้จักใช้วัวดุในครัวเรือนและท้องถิ่นเป็นสื่อ –อุปกรณ์ และสอนให้รู้จักจัด                         กิจกรรมการเล่นกับลูกที่มีอายุ 1-3 ปี

โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก

              จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง วัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริม
              ให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูกในการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
               และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนสเซอรี่ 
               หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี เกมการศึกษา นาฏศิลป์ 
               ร้องรำทำเพลง ฯลฯ โดยก่อนเริ่มกิจกรรมจะมีกรพูดคุยกับพ่อแม่ถึงกิจกรรม
               ที่จะเล่นกับเด็ก และเมื่อจบกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยสรุปและประเมินผลที่ได้
               ในวันนั้นๆ ระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้จัด 
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา


                มีวัตถุประสงค์

           - เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว 
           - ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก 
           - ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว 
           - เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา 
          กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษาเด็กด้วย
          การสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษา โดยกำหนด
          ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2 เรื่องคือ 

          1. ความพร้อมที่จะเรียน พ่อแม่จะต้องเตรียมความพร้อมให้ก่อนลูกจะเข้าเรียน
              และอุทิศเวลาแต่ละวันเพื่อช่วยลูกให้ได้เรียน 

          2. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้กำหนดให้โรงเรียนทุกแห่งส่งเสริม
              ความเป็นหุ้นส่วนที่จะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความ
              เจริญก้าวหน้าของเด็กในด้านสังคม อารมณ์ และด้านวิชาการ

โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่

          มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยัง
          องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าว
          สารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยาม “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education)                         “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ “โครงการ
          สอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) 
          โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 

           - ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก 

           - ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ 

           - สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน 

           - ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน                     เช่น การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ

โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)

             เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่
             มีรายได้น้อย และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้น การบริการ
             เฉพาะสำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพ
             กาย จิตใจและโภชนาการ พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของ
             พ่อแม่และชุมชน 

             โครงการเฮดสตาร์ท มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็ก
             ปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 

            - สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น 

            - เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น 

            - ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ
โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)

              เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้
             โครงการใหญ่ คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครอง
             เห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้
             แก่เด็ก เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อย                      โอกาส โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้อง
             และมีสมรรถภาพ

โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)

             ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี พ.ศ. 2536 ได้จัดให้
             มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก โดยเฉพาะในด้านการอบรมเลี้ยงดูและ
             การศึกษาของเด็กเล็ก ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินโครงการ                        โครงการนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้อง
             ถิ่น ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก โดยมีเป้าหมายที่เด็ก
             อายุต่ำกว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
โครงการ Brooklyne Early Childhood

             เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก ดำเนินการโดย Brooklyne                      Public School ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก 
             ในการจัดการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง โดยการจัดให้มีการตรวจสุขภาพเด็ก
             เบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ 
             ในระยะต้นได้ นอกจากนี้ยังให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี 
             และวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์


โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์ 

              เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง 
              การบริหาร การดำเนินงาน โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมา
              สมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมด
              ของประเทศ ปรัชญาในการทำงานคือ “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุด
              ของลูก”

โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)

              เป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือแนะนำและให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความ
              เข้าเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ รัฐบาลส่งเสริมให้
              พ่อแม่ทุกคนเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ 
              ทั้งสิ้น โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่าง
              ดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่า “พ่อแม่นักการศึกษา” พ่อแม่จะได้รับข้อมูลเช่น 
              การสร้างประสบการณ์การศึกษาที่ตื่นเต้นแก่ลูกโดยไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพ 
              การส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านหนังสือ การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและสนุก 
              การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และการส่งเสริมให้ลูกพัฒนาอย่างเต็มศักย
              ภาพมากที่สุด 


โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย

              มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า (Early Childhood                   Center) หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center) เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำ                         แนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาล                     ทั่วไป จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของ                    ลูก ไปเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหา เช่น ตัวเหลืองรวมทั้งไปสอนการดูแล                    การอาบน้ำเด็กทารกจนกระทั่งแม่แข็งแรงดี มีการจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสี
              ฟ้า(blue book) ซึ่งเด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้ สำคัญเหมือนบัตรประชาชน 
              นอกจากนี้ก็จะให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกายและใจ โดยเฉพาะคุณแม่ที่
              เพิ่งมีลูกคนแรก

โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)

               โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกใน                           ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ 
               ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ 
               นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก โดยมีวัตถุ
               ประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนา
               ความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุก
               คนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท” 

                            “ถุงบุ๊คสตาร์ท”

               ภายในถุงประกอบด้วย
               -หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
               -หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการ
                 เลี้ยงดูด้วยหนังสือ
               -ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
               -แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
               -บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
               -รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
               -รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก 



         ประยุกต์ใช้  สามารถนำไปพัฒนาการในการสอนหรือทำประโยชน์ในการความรู้
                            ดูเเลเด็กปฐมวัย



         ประเมินตนเอง   100%



         ประเมินเพื่อน    100%


      
         ประเมินผู้สอน    อาจารย์สอนเเละอธิบายอย่างละเอียด















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น